วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

GIS-health

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ รพ.สต.บ้านหว้าน 

สรุปผลการดำเนินงานโครงการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน ประจำปี 2559

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหว้าน อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
        วัตถุประสงค์
               1. เพื่อเป็นหมู่บ้าน/ชุมชน ต้นแบบปลอดเหล้า บุหรี่ และอบายมุขในงานศพ
               2. เพื่อเป็นการรณรงค์ให้มีการลด ละ เลิก การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การพนัน
                   ทุกประเภทในงานศพ และลดการสูบบุหรี่ ในเขตตำบลสำโรงปราสาท อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
               3. เพื่อเป็นการทำบุญด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ผ่องใส เป็นการลด ละ เลิก อบายมุข
               4. เพื่อเป็นการดำรงไว้ในสถาบันครอบครัวที่อบอุ่น
               5. เพื่อเป็นการไว้ทุกข์ แสดงความโศกเศร้า กับญาติที่เสียชีวิต
               6. ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการจัดงานศพ ของเจ้าภาพจัดงาน
        ผลผลิต  /  ผลลัพธ์
               สร้างการเรียนรู้เรื่องแผนที่ผลลัพธ์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาและวางแผนการแก้ปัญหา กำหนดกิจกรรม และติดตามผลการดำเนินงาน ตามโครงการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน ประจำปี 2559
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหว้าน อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ  โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการดังนี้
1. การดำเนินโครงการ 
                    1.1 จัดตั้งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนันในระดับตำบล ดังนี้
                      คณะกรรมการควบคุมป้องกันการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประกอบด้วย
        1.  นายบุญมี  เชื้อทอง                กำนันตำบลสำโรงปราสาท                ประธานกรรมการ
        2.  นายมนูญ พรหมมาศ   นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงปราสาท    รองประธานกรรมการ
        3.  นายสมบูรณ์  พรหมลิ      ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงปราสาท        รองประธานกรรมการ
        4.  ผู้บริหารสถานศึกษาในเขตตำบลสำโรงปราสาททุกแห่ง                      กรรมการ
        5.  ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านในตำบลสำโรงปราสาท                                 กรรมการ
        6.  สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงปราสาททุกหมู่บ้าน                           กรรมการ
        7.  ประธาน อสม.ตำบลสำโรงปราสาท ทุกหมู่บ้าน                                กรรมการ
        8.  นายนัส  เมืองจันทร์                         ผอ.รพ.สต. ตาเปียง                  กรรมการ
        9.  นางสาวจรรยาวัณณ์  มะลิย์      เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน          กรรมการ
       10.  นางสาวศิริลักษณ์  ศรีกันยา       พยาบาลวิชาชีพ                               กรรมการ
       11.  นางสาวชุติมาพร  ธรรมบุตร       พยาบาลวิชาชีพ                               กรรมการ
       12.  นางสาวพัชรินทร์  เข็มทอง  นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ                  กรรมการ
       13.  นายคมกฤช  ทองแพรว                    ผอ.รพ.สต. หว้าน                    กรรมการและเลขานุการ
       14.  นางสาวมยุรี  สิมมะโรง  นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติงาน                    กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
             มีหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
         1.   จัดทำแผนการดำเนินงานการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
         2.   ประสานการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ/เอกชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อป้องกันการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
        3. จัดอบรม ให้ความรู้การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
        4. กรอกข้อมูลลงโปรแกรม JHCIS ให้สมบูรณ์
        5. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
        6. สรุปผลการปฏิบัติงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ

ภาพการประชาคมหมูบ้าน โดยมีนายกองค์การบริหารตำบลสำโรงปราสาท ผู้นำชุมชน ตัวแทนคุ้ม ผู้อำนวยการโรงเรียน เข้าร่วมการประชาคมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน

 
 
 
2. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์บริเวณงาน หน้างาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและตระหนักของประชาชน
 
3.  สำรวจ/ตรวจร้านค้าและแผงลอย เพื่อแนะนำให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและจัดทำทะเบียนร้านค้าที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบ โดยเจ้าหน้าที่, ผู้นำชุมชน และ อสม. ซึ่งในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหว้านมีผู้ประกอบการ จำนวน 23 ร้าน ได้รับการสำรวจทั้ง 23 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 100

สำรวจ/ตรวจร้านค้าและแผงลอย เพื่อแนะนำให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ
 


4.  สนับสนุนป้าย/สติกเกอร์ สถานที่ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน ตามกฎหมาย ซึ่งติดป้ายดังนี้

          4.1  โรงเรียนบ้านหว้าน
          4.2  โรงเรียนบ้านสำโรง
          4.3  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหว้าน
          4.4 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำโรง
          4.5 วัดบ้านหว้าน
          4.6 สำนักสงฆ์บ้านหนองผึ้ง
          4.7 ร้านค้าในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหว้าน จำนวน 23 ร้าน

           ป้าย/ สติกเกอร์ห้ามจำหน่ายแอลกอฮอล์ ยาสูบให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี และห้ามขายแอลกอฮอล์
5.  สนับสนุนป้ายงานบุญประเพณีปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการ
6.  มีการสรุปการตรวจเฝ้าระวังการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน ในงานบุญประเพณี เพื่อเป็นการรณรงค์ให้มีการลด ละ เลิก การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การพนัน ทุกประเภทในงานศพ และลดการสูบบุหรี่ เป็นการทำบุญด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ผ่องใส เป็นการลด ละ เลิก อบายมุข ดำรงไว้ในสถาบันครอบครัวที่อบอุ่น เป็นการไว้ทุกข์ แสดงความโศกเศร้า กับญาติที่เสียชีวิต และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการจัดงานศพ ของเจ้าภาพจัดงาน ดังนี้
สรุปการเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายตามโครงการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหว้าน อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ  ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 – มิถุนายน 2559
ลำดับ
ประเภทงานบุญ
จำนวนงานบุญทั้งหมด (งาน)
มูลค่าที่ประหยัดได้จากการปลอดเหล้า
(บาท)
จำนวนงานบุญที่ปลอดการพนัน
(งาน)
มูลค่าที่ประหยัดได้จาก
การปลอดการพนัน (บาท)
หมายเหตุ
1
งานศพ
5
15,000
1
20,000

2
กฐิน
0
0
0
0

3
ผ้าป่า
4
10,000
4
15,000

4
งานบวช
4
40,000
4
40,000

5
บุญอัฐิ
0
0
0
0

6
แข่งเรือ
0
0
0
0

7
บุญเข้าพรรษา
0
0
0
0

8
บุญออกพรรษา
0
0
0
0

9
บุญข้าวสาก
1
1,000
0
0

10
บุญข้าวจี่
1
1,000
0
0

11
บุญประเวศ
0
0
0
0

12
เทศกาลสงกรานต์
1
15,000
0
0

13
วันขึ้นปีใหม่
1
10,000
0
0

14
ขึ้นบ้านใหม่
4
4,000
0
0

15
บุญบั้งไฟ
1
15,000
0
0

16
บุญคุ้มข้าวใหญ่
1
500
0
0

17
บุญเบิกบ้าน/ปู่ตา
2
1,000
0
0

18
บุญข้าวประดับดิน
1
500
0
0

19
ลอยกระทง
0
0
0
0

20
แซโฎนตา
1
500
0
0


รวม
27
113,500
9
75,000


 งานแซโฎนตาปลอดเหล้า

งานบุญประเพณีบุญบั้งไฟ ปลอดเหล้า ปลอดการพนัน


งานผ้าป่าปลอดเหล้า

7.  รณรงค์ให้ความรู้ทางหอกระจายข่าวในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน
ทุกหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหว้าน จำนวน 5 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 100
8.  ดำเนินการจัดอบรมตามโครงการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน ประจำปี 2559
ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหว้าน โดยมีกลุ่มเป้าหมายดังนี้
        8.1  ผู้นำชุมชน/อบต. หมู่บ้านละ 5 คน จำนวน 5 หมู่บ้าน รวม 25 คน
        8.2  อสม. หมู่บ้านละ 10 คน จำนวน 5 หมู่บ้าน รวม 10 คน
        8.3  ครู/ท้องถิ่น จำนวน 5 คน
รวมทั้งสิ้น จำนวน  80  คน ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรมคิดเป็นร้อยละ 100 และผู้เข้าอบรมมีการประเมินความรู้
ก่อนและหลังการอบรม
         แบบทดสอบก่อน และหลังการอบรมตามโครงการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน ประจำปี 2559
ข้อคำถาม
Pretest (n= 80)
Posttest (n= 80)
ตอบถูก
ร้อยละ
ตอบผิด
ร้อยละ
ตอบถูก
ร้อยละ
ตอบผิด
ร้อยละ
1. ข้อใดไม่จัดเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5
6.25
75
93.7
80
100
0
0.0
2. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดใด มีความแรงของดีกรีตํ่าสุด
20
25.0
60
75.0
80
100
0
0.0
3. ห้ามจำหน่ายบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่เด็กอายุต่ำกว่ากี่ปี
33
41.25
47
58.7
80
100
0
0.0
4. เวลาที่ให้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลล์กอฮอล์ได้คือช่วงเวลาใด
34
42.5
46
57.5
78
97.5
2
2.5
5. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทําให้เกิดโรคใด
63
78.7
51
63.7
78
97.5
2
2.5
6. การเล่นการพนัน มีโทษอย่างไร
72
90.0
8
10.0
80
100
0
0.0
7. บริเวณสถานศึกษา ควรปลอดการจําหน่ายแอลกอฮอล์ในรัศมีกี่เมตรตามกกหมาย
29
36.25
51
63.7
76
95.0
4
5.0
8. ข้อใดเป็นอันตรายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีผลกระทบต่อสังคม
74
92.5
6
7.5
80
100
0
0.0
9.การตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ต้องมีปริมาณเท่าใด
ขึ้นไปจะถูกจับ
34
42.5
46
57.5
77
96.2
3
3.7
10. บุหรี่จัดเป็นสารเสพติดหรือไม่
19
23.7
61
76.2
80
100
0
0.0
11. สารชนิดใดมีในบุหรี่
21
26.2
59
73.7
80
100
0
0.0
12.การสูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบมีโทษอย่างไร
46
57.5
34
42.5
80
100
0
0.0


ข้อคำถาม
Pretest (n= 80)
Posttest (n= 80)
ตอบถูก
ร้อยละ
ตอบผิด
ร้อยละ
ตอบถูก
ร้อยละ
ตอบผิด
ร้อยละ
13. ข้อใดเป็นผลจากการเล่นการพนันที่มีผลกระทบต่อสังคม
78
97.5
2
2.5
80
100
0
0.0
14. การออกฤทธิ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขึ้นอยู่กับปัจจัยใด
16
20.0
64
80.0
80
100
0
0.0
15. การสูบบุหรี่มีผลกระทบต่อระบบใดบ้างในร่างกาย
74
92.5
6
7.5
80
100
0
0.0

        จากการทำแบบทดสอบก่อน การอบรมตามโครงการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน
ประจำปี 2559 ของผู้เข้าอบรมพบว่าข้อคำถามที่ผู้เข้าอบรมตอบผิดมากที่สุด 3 อันดับแรก คือข้อ 1. ข้อใดไม่จัดเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตอบคำถามผิดถึงร้อยละ 93.7 รองลงมาคือข้อ 14. การออกฤทธิ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขึ้นอยู่กับปัจจัยใด
ตอบคำถามผิดถึงร้อยละ 80.0 และข้อ 10. บุหรี่จัดเป็นสารเสพติดหรือไม่ ตอบคำถามผิดถึงร้อยละ 76.2 ตามลำดับ
      หลังจากได้รับการอบรม ตามโครงการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน ประจำปี 2559 พบว่าผู้เข้าอบรมตอบคำถามได้ถูกต้องร้อยละ 100 ถึง 11 ข้อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษและกฏหมายเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน มากขึ้น ข้อคำถามที่ผู้เข้าอบรมตอบคำถามได้ถูกต้องมากที่สุดคือข้อ 1. ข้อใดไม่จัดเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ข้อ 2. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดใด มีความแรงของดีกรีตํ่าสุด ข้อ 3. ห้ามจำหน่ายบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่เด็กอายุต่ำกว่ากี่ปี  ข้อ 6. การเล่นการพนัน มีโทษอย่างไร ข้อ 8. ข้อใดเป็นอันตรายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีผลกระทบต่อสังคม  ข้อ 10. บุหรี่จัดเป็นสารเสพติดหรือไม่ ข้อ  11. สารชนิดใดมีในบุหรี่
ข้อ 12.การสูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบมีโทษอย่างไร ข้อ 13. ข้อใดเป็นผลจากการเล่นการพนันที่มีผลกระทบต่อสังคม ข้อ  14. การออกฤทธิ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขึ้นอยู่กับปัจจัยใด ข้อ 15. การสูบบุหรี่มีผลกระทบต่อระบบใดบ้างในร่างกาย รองลงมาคือข้อ4. เวลาที่ให้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลล์กอฮอล์ได้คือช่วงเวลาใด ข้อ 5. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทําให้เกิดโรคใด ร้อยละ 97.5 และ ข้อ 9.การตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ต้องมีปริมาณเท่าใดขึ้นไปจะถูกจับ ร้อยละ 96.2 ตามลำดับ
    ซึ่งกิจกรรมการอบรมมีการจัดการอบรมดังต่อไปนี้
โครงการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน ประจำปี 2559
ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหว้าน
นโยบายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน
โดย ผอ.รพ.สต. หว้าน นายคมกฤช  ทองแพรว


ความรู้เรื่องภัยจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน โดยคุณธวัชชัย เติมใจ
หัวหน้างานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปรางค์กู่

กฎมายเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน โดยคุณธวัชชัย เติมใจ
หัวหน้างานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปรางค์กู่

การเฝ้าระวังการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ โดยคุณธวัชชัย เติมใจ
หัวหน้างานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปรางค์กู่

การเฝ้าระวังการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ โดยคุณธวัชชัย เติมใจ
หัวหน้างานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปรางค์กู่


สรุปผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการ
       1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน
       2. ร้านค้า/แผงลอย ได้รับการตรวจสอบการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ ร้อยละ ๑๐๐
       3. มีเครือข่ายการบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ และการพนัน ในระดับตำบล
ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการ
        1.  ประชาชนบางส่วนยังไม่เห็นด้วยเนื่องจากคิดว่าเป็นประเพณีที่เคยทำกันมา หากขาดเหล้า และการพนันในงานศพก็จะไม่มีคนมาร่วมงาน แนวทางแก้ไข ให้ผู้นำชุมชนที่ชาวบ้านนับถือ ลงมาพูดคุยถึงข้อดี ของการจัดงานศพ ปลอดเหล้า
ปลอดการพนัน
       2. เป็นโครงการที่เกี่ยวกับความร่วมมือในชุมชนโดยตรงควรให้ผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่างในการดำเนินกิจกรรมและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยงเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งด้วยตัวเองและกิจกรรมจะได้ยั่งยืน
      3. การปฏิบัติการข้อตกลงของการทำประชาคมของหมู่บ้าน มีบางครั้งฝ่าฝืน ซึ่งต้องได้มีการว่ากล่าวตักเตือนโดยผู้นำที่ชาวบ้านให้ความเคารพและเกรงใจ



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สสส